DW (Derivative Warrants) คืออะไร?

DW (Derivative Warrants) หรือ ใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ คือผลิตภัณฑ์ทางการเงินชนิดหนึ่ง ซึ่งช่วยให้นักลงทุนสามารถลงทุนด้วยเงินจำนวนน้อยแต่สามารถเพิ่มโอกาสสร้างผลตอบแทนที่สูงในการลงทุนได้ ผ่านทางดัชนีหรือหุ้นอ้างอิง นักลงทุนสามารถซื้อขายได้ทั้งตลาดขาขึ้นและขาลง เพิ่มโอกาสสร้างผลตอบแทนไม่ว่าจะทางใดทางหนึ่ง โดย Call DW เคลื่อนไหวในทิศทางเดียวกับหลักทรัพย์อ้างอิง กล่าวคือราคา DW จะมีโอกาสปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อราคาหลักทรัพย์อ้างอิงปรับตัวขึ้น ในทางกลับกันราคา Put DW จะเคลื่อนไหวในทิศทางตรงกันข้ามกับราคาหลักทรัพย์อ้างอิง กล่าวคือราคา DW มีโอกาสปรับตัวเพิ่มขึ้นในกรณีที่ราคาหลักทรัพย์อ้างอิงปรับตัวลดลง นักลงทุนสามารถซื้อขายผ่านบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ที่มีอยู่แล้ว เปรียบเสมือนการซื้อขายหุ้นตัวหนึ่ง โดยไม่จำเป็นต้องเปิดบัญชีใหม่

โดยปัจจุบันจะมีหลักทรัพย์อ้างอิงทั้งแบบในประเทศและต่างประเทศ เช่น
1. หลักทรัพย์อ้างอิงในประเทศ เป็นการอ้างอิงหุ้นที่อยู่ใน SET100 และดัชนีหลักทรัพย์ เช่น SET50
2. หลักทรัพย์อ้างอิงต่างประเทศ โดยปัจจุบัน หุ้นต่างประเทศที่อ้างอิงจะเป็นหลักทรัพย์ที่จดทะเบียนบนตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกงเท่านั้น และดัชนีหลักทรัพย์ของต่างประเทศ เช่น HSI, DJI, S&P500 และ NDX เป็นต้น

การซื้อขาย DW สามารถทำได้ผ่านตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เหมือนกับการซื้อขายหุ้น เทรดเดอร์สามารถส่งคำสั่งผ่านบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ที่มีอยู่ โดยไม่ต้องเปิดบัญชีใหม่

สัญลักษณ์ของ DW อ่านอย่างไร?

ชื่อหรือสัญลักษณ์ของ DW นั้น จะเป็นรหัส มีองค์ประกอบดังนี้




คำศัพท์ที่ต้องรู้ก่อนเก็งกำไร DW


1. Effective Gearing (X) หรืออัตราทด 
เป็นตัวแปรที่บอกว่า DW รุ่นนั้น ให้ผลตอบแทนกี่ % เมื่อเทียบกับหลักทรัพย์อ้างอิงที่มีการเปลี่ยนแปลงไป ±1% เช่น
- DW Call มี Effective Gearing(x) = 15.0 แปลว่าถ้าหลักทรัพย์อ้างอิง +1% DW จะ +15%
- DW Put มี Effective Gearing(x) = 15.0 แปลว่าถ้าหลักทรัพย์อ้างอิง -1% DW จะ +15%

2. Sensitivity
เป็นค่าที่วัดความไวในการเปลี่ยนแปลงราคาของ DW เทียบกับราคาหลักทรัพย์อ้างอิงโดยค่า Sensitivity จะมีอยู่ 2 แบบ
- Sensitivity เช่น Sensitivity 1.0 หมายถึง หากหลักทรัพย์อ้างอิงขยับ 1.0 จุด DW จะขยับ 1.0 tick หรือ 0.01 บาท
- Sensitivity (จุดดัชนี) เช่น Sensitivity (จุดดัชนี) มีค่า 20 จุด หมายถึง หากหลักทรัพย์อ้างอิงขยับ 20 จุด จะส่งผลให้ DW ขยับ 1 tick หรือ 0.01 บาท
ค่า Sensitivity (จุดดัชนี) มักจะใช้กับดัชนี โดยเฉพาะกับดัชนีหุ้นต่างประเทศเนื่องจากฐานของดัชนีหุ้นต่างประเทศ มีค่าที่สูงกว่าเมื่อเทียบกับดัชนีหุ้นไทย ตัวอย่างเช่น ดัชนี HSI ที่มีฐานดัชนีเกิน 10,000 จุด ซึ่งการใช้ Sensitivity (จุดดัชนี) จะช่วยให้อ่านค่าการเปลี่ยนแปลงของราคา DW ได้ง่ายขึ้น

3. Time Decay
สำหรับ DW นั้น เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีอัตราทดบนหลักทรัพย์อ้างอิง อัตราทดนี้ใน DW เรียกว่า Effective Gearing ซึ่งก็จะต้องแลกด้วยค่าเสื่อมทางเวลา (Time decay) ซึ่งค่าเสื่อมทางเวลานี้จะปรับตัวลดลงเรื่อยๆ เมื่อเข้าใกล้วันครบกำหนดอายุ แต่รู้มั้ยว่า ค่าเสื่อมทางเวลายังสามารถแบ่งเป็นอีก 2 แบบ
3.1 DW ที่คิด Time Decay ทุกวัน
3.2 DW คิด Time Decay เฉพาะวันทำการ (ไม่นับวันเสาร์อาทิตย์)
สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ https://www.thaidw.com/education/individualtip?id=213&type=index

4. สถานะของ DW
สถานะของ DW มีทั้งหมด 3 แบบ

5. โครงสร้างราคา DW ประกอบด้วย

ตัวอย่างของ DW

ยกตัวอย่าง DW HSI Call มีราคาใช้สิทธิ เท่ากับ 15,400 จุด ราคาสัญญา HSI Futures ณ ปัจจุบันอยู่ที่ 16,400 จุด ตัวคูณดัชนีเท่ากับ 0.00026 ดอลล่าร์ฮ่องกง (HKD) ต่อจุดดัชนี
- โดยอัตราแลกเปลี่ยน 1 HKD = 4.64 บาท ถ้าหากราคา DW เท่ากับ 1.24 บาท
- มูลค่าที่แท้จริง จะเท่ากับ 1.20 บาท [(16,400 - 15,400) x 0.00026 x 4.64]
- มูลค่าทางเวลา (Time Value) เท่ากับ 0.04 บาท (1.24-1.2)
สำหรับเหตุการณ์นี้ DW จะมีสถานะคือ In The Money (ITM)

เงินสดส่วนต่างคำนวณได้จากสมการนี้
- เงินสดส่วนต่าง DW Call = (ราคาปิดของหลักทรัพย์อ้างอิง ณ วันทำการซื้อขายสุดท้าย – ราคาใช้สิทธิ) x อัตราการใช้สิทธิต่อหน่วย x อัตราแลกเปลี่ยน (ในกรณีที่เป็นหลักทรัพย์อ้างอิงต่างประเทศ)

- เงินสดส่วนต่าง DW Put = (ราคาใช้สิทธิ - ราคาปิดของหลักทรัพย์อ้างอิง ณ วันทำการซื้อขายสุดท้าย) x อัตราการใช้สิทธิต่อหน่วย x อัตราแลกเปลี่ยน (ในกรณีที่เป็นหลักทรัพย์อ้างอิงต่างประเทศ)

จุดเด่นของ DW

1. โอกาสสร้างผลตอบแทนได้ทุกสภาวะตลาด 
DW คือหนึ่งในผลิตภัณฑ์ทางการเงิน ที่สามารถสร้างผลตอบแทน ได้ทุกสภาวะตลาด ไม่ว่าตลาดจะขึ้นหรือลง ทำให้นักลงทุนวางแผนในการลงทุนได้ง่ายยิ่งขึ้นโดย DW จะแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ DW Call และ DW Put
- สำหรับ DW Call จะใช้สำหรับสร้างผลตอบแทน เมื่อหลักทรัพย์อ้างอิง ปรับตัวขึ้น
- สำหรับ DW Put จะใช้สำหรับสร้างผลตอบแทน เมื่อหลักทรัพย์อ้างอิง ปรับตัวลง

2. เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีอัตราทดสูง
อัตราทด คือค่าที่บอกว่า DW จะเปลี่ยนแปลงกี่ % เมื่อราคาหลักทรัพย์อ้างอิงเปลี่ยงแปลงไป 1% ซึ่งเป็นตัววัดถึงความแรงของ DW แต่ละรุ่น โดย DW ที่มีอัตราทดสูงก็จะให้โอกาสในการรับผลตอบแทนสูง

3. กระจายความเสี่ยงและเพิ่มโอกาสในการลงทุนต่างประเทศได้
ปัจจุบันนี้ DW มีหลักทรัพย์อ้างอิงที่หลากหลาย ไม่จำกัดเพียงแค่หลักทรัพย์ไทย แต่เป็นการเพิ่มทางเลือกและเพิ่มโอกาสในการทำกำไรในหลักทรัพย์ต่างประเทศไม่ว่าจะเป็น ดัชนี HSI DJI S&P500 หรือ NDX รวมถึงหุ้นระดับโลกเช่น Alibaba, TENCENT Xiaomi หรือ BYD เป็นต้น โดยสามารถลงทุน DW ที่อ้างอิงหลักทรัพย์ต่างประเทศผ่านบัญชีหลักทรัพย์ที่มีอยู่แล้วเป็นเงินบาทโดยไม่ต้องเปิดบัญชีใหม่

4. จำกัดขาดทุนแต่เปอร์เซ็นต์ผลตอบแทนสูงกว่า
การลงทุนบางประเภท ให้ผลตอบแทนที่สูงก็จริง อย่างเช่นการลงทุน Block Trade หรือ Futures แต่ก็มีโอกาสที่จะขาดทุนมากกว่าเงินหลักประกันขั้นต้น เนื่องจากมีการวางหลักประกันเพิ่ม ต่างกับ DW ที่จะขาดทุนสูงสุดจะเท่ากับเงินที่ลงทุน แต่มีโอกาสที่จะได้รับผลตอบแทนที่สูงกว่า อย่างไรก็ตาม ผลตอบแทนที่สูงนี้ก็เป็นเหมือนดาบสองคม ที่ส่งผลให้ขาดทุนได้มากขึ้นหากมีมุมมองที่ผิดไป

5. ซื้อ-ขายง่าย เพราะมีผู้ดูแลสภาพคล่องคอยดูแล
สภาพคล่องของ DW เกิดจากการที่ผู้ดูแลสภาพคล่องหรือ Market Maker วาง Bid-Offer ส่งผลให้นักลงทุนสามารถซื้อหรือขาย DW ได้ง่าย โดย DW รุ่นที่ Market Maker วาง Bid Offer ในปริมาณยิ่งสูงก็ยิ่งมีสภาพคล่องสูงกล่าวคือนักลงทุนสามารถเข้าหรือออกได้ง่าย

การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนจึงควรทำความเข้าใจลักษณะผลิตภัณฑ์ทางการเงิน เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน ทั้งนี้ สามารถดูรายละเอียดข้อกำหนด เงื่อนไข และคำเตือนเพิ่มเติม ได้ที่ https://thaidw.com/about/disclaimer