บทความ LIB Learn เดิม
5 กับดักจิตวิทยา เมื่อหุ้นเป็นขาลง
Written by: #StockVitamins x #Liberator
ตอนที่แล้ว เราคุยกันถึงจิตวิทยาเมื่อหุ้นเป็นขาขึ้นกันไปว่า เรามักจะมีอาการ FOMO รีบซื้อด้วยความโลภ เสร็จแล้วก็พยายามหาข้อมูลมายืนยันความคิดตัวเองที่เรียกว่า Confirmation Bias พอหุ้นขึ้นก็ดีใจ และมองว่าเราคิดถูก เป็นการใช้ราคานำความคิด
มาตอนนี้วิตามินหุ้นจะพาไปรู้จักอีกชุดของกับดักจิตวิทยา เมื่อหุ้นเป็นขาลงกันบ้างครับ จะมีอะไรบ้างนั้น ตามมาดูกันเลย
1. ถัวขาลง ถัวจนตัวตาย
ถ้าหุ้นที่เราซื้อแล้วราคามันลง เราจะเริ่มเครียด กระวนกระวาย ถ้ายังมีเงินเหลือเรามักจะซื้อหุ้นเพิ่ม ลงอีกก็ซื้ออีก ยิ่งลงหนักก็ยิ่งซื้อเพิ่ม เรียกได้ว่า ถัวขาลงตลอดทาง ถ้าเหตุผลเป็นเพราะมั่นใจในพื้นฐาน มองเป็นโอกาส ก็ซื้อได้ แต่ส่วนมากมักซื้อเพิ่มเพราะอยากให้เปอร์เซ็นต์ติดลบมันลดลง ดูเหมือนขาดทุนลดลง หรือซื้อด้วยความกลัว ยิ่งกลัวก็ยิ่งซื้อ เผื่อว่าเดี๋ยวเด้งจะได้ขาย
จริงๆ แล้วเราต้องคิดถึง 2 หลักการ คือ
• ราคายิ่งลงเยอะ การจะกลับมาที่เดิมนั้นยากกว่า เช่น ราคาลง 10% ต้องทำ 11% ถึงกลับมาเท่าเดิม หรือถ้าหุ้นลง 50% ต้องทำมากถึง 100% ถึงกลับมาที่เดิมได้ คือ ตอนลงอะลงลิฟท์ แต่ตอนขึ้นคือขึ้นบันไดชันๆ แปลว่า เราต้องกำหนดจุดตัดขาดทุนไว้ด้วย
• ราคายิ่งลง ยิ่งขยันหาความรู้ อันนี้คือผิด แต่คนส่วนใหญ่ชอบทำ คือ ยังไม่รู้จักธุรกิจดีพอ ซื้อไปก่อน พอราคาหุ้นลง ถึงรีบไปอ่าน 56-1 ไปดู Oppday แบบนี้ก็ไม่ใช่ เราต้องเข้าใจธุรกิจ ประเมินมูลค่าให้ออกตั้งแต่ก่อนซื้อหุ้น
2. ชอบถือตัวแดง แต่ดันขายตัวเขียว
ตอนกำไรนิดหน่อย เราก็กลัวว่าหุ้นจะลง เลยรีบขายเอากำไรไว้ก่อน แต่ตอนขาดทุน เราก็คิดว่า ถือก่อนรอมันเด้งกลับมาเท่าทุนหรือกำไร 1-2 ช่องจะขาย แต่ของจริง ตัวที่ขายจะวิ่งไปไกล ส่วนตัวที่ถือก็จะลงไม่หยุด กลายเป็นพอร์ตมีแต่สีแดงเต็มจอ
แบบนี้ตรงกับอคติที่ว่าด้วยเรื่องของ “Loss Aversion Bias”
เป็นทฤษฎีที่บอกว่า เวลาขาดทุนเราจะเสียใจมากเป็น 2 เท่า เมื่อเทียบกับตอนกำไร ถึงแม้ว่าจำนวนเงินจะเท่ากันก็ตาม
อธิบายง่ายๆ ได้ว่า ตอนหุ้นขึ้นกำไร 1,000 บาท เราดีใจ แต่ไม่ขาย ได้กำไรทิพย์ พอลงมาเท่าทุน ก็กะว่าเดี๋ยวขึ้นไปจะขายละ แต่เหตุการณ์จริงดันลงต่อจนขาดทุน 1,000 บาท เราทนไม่ไหว ตัดใจขาย ถึงแม้ตัวเงินจะเท่ากัน แต่ความรู้สึกไปกลับของการที่กำไรอยู่ดีๆ แล้วต้องมาขาดทุน จิตใจเราก็จะห่อเหี่ยว เกิดอาการบอกกับตัวเองว่า รู้งี้ ขายตั้งแต่ตอนนั้นดีกว่า
วิธีการแก้ปัญหา คือ
• หาหุ้นที่ได้ Reward to Risk Ratio มากกว่า 2 เท่า เพราะเรารู้ว่าถ้าขาดทุนจะเศร้ามากกว่า ก็ต้องแก้ด้วยการหาหุ้น upside เยอะๆ เพื่อชดเชยความรู้สึก
• เวลาซื้อก็ต้องรอให้เป็น ถ้าไม่ได้ราคาตามต้องการก็ไม่ซื้อ ตอนที่จะขายก็ไม่ใช่ขายเพราะว่าราคามันขึ้น แต่ให้ดูการเติบโตประกอบกันไปด้วยและอาจจะแบ่งขายเป็นหลายๆ ไม้ออกไป
3. ไม่ดู ไม่แดง ไม่ดอย
พอหุ้นลงเยอะๆ หลายคนเลือกที่จะปิดจอ ขอไม่รับรู้ว่าเกิดอะไรขึ้น ไม่อยากเห็นว่าพอร์ตลบเท่าไหร่ เพราะทำใจไม่ได้ เลยเลือกที่จะไม่รับรู้ บางคนถึงขั้นลบ App จะได้ไม่ต้องเห็นไม่ต้องเปิดกันเลยทีเดียว
อคติแบบนี้เรียกว่า “Ostrich Effect” เหมือนนกกระจอกเทศชอบเอาหัวมุดทรายเวลาแผ่นดินไหว ฟ้าร้อง หรือเจอเหตุการณ์ไม่ปกติ (แต่ก็มีคนบอกว่า ในความเป็นจริงมันมุดไปดูไข่ที่เก็บฝังดินไว้ต่างหาก)
จริงๆ แล้ว สิ่งที่เราควรทำ ถึงแม้ว่าจะทำใจลำบาก คือ สู้กับความจริง ต้องเปิดดูพอร์ตว่าเสียหายเท่าไหร่ เพราะจะได้แก้ไขทันแต่เนิ่นๆ บางทีอาจจะขาดทุนไม่มาก เอากลับคืนมาได้ แต่ถ้าไม่ดูเลย เปิดดูอีกที พอร์ตติดลบหนัก ก็จะกู้คืนกลับมาลำบาก
4. IKEA Effect
รู้จักแบรนด์ IKEA กันมั้ยครับ เป็นร้านค้าปลีกเฟอร์นิเจอร์ที่ให้เราเดินทางเดียว ไปเลือกเฟอร์นิเจอร์ที่ชอบ จดเบอร์ไว้ แล้วไปเอาที่คลังเก็บสินค้า จ่ายเงิน ขับรถมารับ และเอากลับบ้านไปประกอบเอง กว่าจะได้โต๊ะ เก้าอี้ มาซักตัวนึง ทำตั้งแต่เช้าจรดเย็น เหนื่อยก็เหนื่อย ลำบากก็ลำบาก แถมมีรอยด้วย แต่ทุกคนจะยิ้มได้เพราะเป็นผลงานจากความทุ่มเทของตัวเอง
การลงทุนก็เช่นกัน ถ้าเราศึกษาหุ้นตัวไหนมาเยอะ แกะงบ ลงพื้นที่ คุยกับ IR ผู้บริหาร ลูกค้า จนมั่นใจ เราก็จะรักหุ้นตัวนั้นมากๆ เพราะเราได้ใช้เวลากับมันไปเยอะ ทีนี้ปัญหาที่ตามมาก็คือ เราจะไม่อยากขายหุ้นเมื่อราคามันลง หรือพื้นฐานเริ่มเปลี่ยน กำไรเริ่มหด เราก็จะ bias มองว่าเป็นเรื่องชั่วคราวหรือเปล่า เพราะเราอดคิดไม่ได้ว่า อุตส่าห์ทุ่มเทมาตั้งนาน จะให้ขายไปง่ายๆ เนี่ยนะ ยังอยู่ในวังวนของจังหวะตกหลุมรัก
5. Hot Seat
คุณเคยตกอยู่ในสถานการณ์กดดัน เหมือนกำลังนั่งอยู่บนเก้าอี้ร้อนๆ ต้องรีบตัดสินใจบ้างมั้ยครับ เช่น ประกาศงบตอนเช้าแล้วออกมาแย่ หุ้นโดนเทไหลรัวๆ จะโยนซ้ายดีมั้ย จะเที่ยงครึ่งแล้ว เอาไงดี เดี๋ยวบ่ายมีประชุมนักวิเคราะห์ไม่รู้จะโทนบวกหรือลบ แก๊งค์ 4 โมง มาลากหุ้นกลับแล้ว อ้าวแล้วที่ขายไปเมื่อเช้าทำไง ซื้อกลับดีมั้ยเนี่ย
อาการรีบร้อนลนลานเพราะมีเวลาเป็นข้อจำกัด หลายครั้งทำให้เรารีบซื้อหรือขายเกินไปเพราะโดนกดดันจนเกิดความเสียหายกับพอร์ต
วิธีการแก้ไขปัญหาคือ
• ตั้งสติให้ได้ก่อน รู้ตัวตลอดเวลาว่ากำลังทำอะไรจะได้ไม่มือลั่นซื้อขายโดยไม่ควร
• วางแผนมาตั้งแต่ตอนตลาดปิดจะได้ไม่ขาดสติตอนตลาดเปิด ให้คิดถึง scenario ต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นทั้ง worse-base-best case ถ้าเกิดกรณีไหนมา เราจะทำอย่างไร พอเปิดตลาดจริงก็ทำตามแผนด้วยความมีสติกับตัว
โดยสรุปแล้ว จิตวิทยาเป็นเรื่องฟังสนุก แต่เวลาเจอกับตัวเองแล้วอาจจะไม่สนุก เป็นเรื่องจำเป็นที่เราต้องทำความเข้าใจเพื่อจะได้รู้เท่าทันอารมณ์ จะได้ตัดสินใจได้อย่างเหมาะสมเวลาเจอสถานการณ์ที่ไม่คาดฝัน
ตอนที่แล้ว เราคุยกันถึงจิตวิทยาเมื่อหุ้นเป็นขาขึ้นกันไปว่า เรามักจะมีอาการ FOMO รีบซื้อด้วยความโลภ เสร็จแล้วก็พยายามหาข้อมูลมายืนยันความคิดตัวเองที่เรียกว่า Confirmation Bias พอหุ้นขึ้นก็ดีใจ และมองว่าเราคิดถูก เป็นการใช้ราคานำความคิด
มาตอนนี้วิตามินหุ้นจะพาไปรู้จักอีกชุดของกับดักจิตวิทยา เมื่อหุ้นเป็นขาลงกันบ้างครับ จะมีอะไรบ้างนั้น ตามมาดูกันเลย
1. ถัวขาลง ถัวจนตัวตาย
ถ้าหุ้นที่เราซื้อแล้วราคามันลง เราจะเริ่มเครียด กระวนกระวาย ถ้ายังมีเงินเหลือเรามักจะซื้อหุ้นเพิ่ม ลงอีกก็ซื้ออีก ยิ่งลงหนักก็ยิ่งซื้อเพิ่ม เรียกได้ว่า ถัวขาลงตลอดทาง ถ้าเหตุผลเป็นเพราะมั่นใจในพื้นฐาน มองเป็นโอกาส ก็ซื้อได้ แต่ส่วนมากมักซื้อเพิ่มเพราะอยากให้เปอร์เซ็นต์ติดลบมันลดลง ดูเหมือนขาดทุนลดลง หรือซื้อด้วยความกลัว ยิ่งกลัวก็ยิ่งซื้อ เผื่อว่าเดี๋ยวเด้งจะได้ขาย
จริงๆ แล้วเราต้องคิดถึง 2 หลักการ คือ
• ราคายิ่งลงเยอะ การจะกลับมาที่เดิมนั้นยากกว่า เช่น ราคาลง 10% ต้องทำ 11% ถึงกลับมาเท่าเดิม หรือถ้าหุ้นลง 50% ต้องทำมากถึง 100% ถึงกลับมาที่เดิมได้ คือ ตอนลงอะลงลิฟท์ แต่ตอนขึ้นคือขึ้นบันไดชันๆ แปลว่า เราต้องกำหนดจุดตัดขาดทุนไว้ด้วย
• ราคายิ่งลง ยิ่งขยันหาความรู้ อันนี้คือผิด แต่คนส่วนใหญ่ชอบทำ คือ ยังไม่รู้จักธุรกิจดีพอ ซื้อไปก่อน พอราคาหุ้นลง ถึงรีบไปอ่าน 56-1 ไปดู Oppday แบบนี้ก็ไม่ใช่ เราต้องเข้าใจธุรกิจ ประเมินมูลค่าให้ออกตั้งแต่ก่อนซื้อหุ้น
2. ชอบถือตัวแดง แต่ดันขายตัวเขียว
ตอนกำไรนิดหน่อย เราก็กลัวว่าหุ้นจะลง เลยรีบขายเอากำไรไว้ก่อน แต่ตอนขาดทุน เราก็คิดว่า ถือก่อนรอมันเด้งกลับมาเท่าทุนหรือกำไร 1-2 ช่องจะขาย แต่ของจริง ตัวที่ขายจะวิ่งไปไกล ส่วนตัวที่ถือก็จะลงไม่หยุด กลายเป็นพอร์ตมีแต่สีแดงเต็มจอ
แบบนี้ตรงกับอคติที่ว่าด้วยเรื่องของ “Loss Aversion Bias”
เป็นทฤษฎีที่บอกว่า เวลาขาดทุนเราจะเสียใจมากเป็น 2 เท่า เมื่อเทียบกับตอนกำไร ถึงแม้ว่าจำนวนเงินจะเท่ากันก็ตาม
อธิบายง่ายๆ ได้ว่า ตอนหุ้นขึ้นกำไร 1,000 บาท เราดีใจ แต่ไม่ขาย ได้กำไรทิพย์ พอลงมาเท่าทุน ก็กะว่าเดี๋ยวขึ้นไปจะขายละ แต่เหตุการณ์จริงดันลงต่อจนขาดทุน 1,000 บาท เราทนไม่ไหว ตัดใจขาย ถึงแม้ตัวเงินจะเท่ากัน แต่ความรู้สึกไปกลับของการที่กำไรอยู่ดีๆ แล้วต้องมาขาดทุน จิตใจเราก็จะห่อเหี่ยว เกิดอาการบอกกับตัวเองว่า รู้งี้ ขายตั้งแต่ตอนนั้นดีกว่า
วิธีการแก้ปัญหา คือ
• หาหุ้นที่ได้ Reward to Risk Ratio มากกว่า 2 เท่า เพราะเรารู้ว่าถ้าขาดทุนจะเศร้ามากกว่า ก็ต้องแก้ด้วยการหาหุ้น upside เยอะๆ เพื่อชดเชยความรู้สึก
• เวลาซื้อก็ต้องรอให้เป็น ถ้าไม่ได้ราคาตามต้องการก็ไม่ซื้อ ตอนที่จะขายก็ไม่ใช่ขายเพราะว่าราคามันขึ้น แต่ให้ดูการเติบโตประกอบกันไปด้วยและอาจจะแบ่งขายเป็นหลายๆ ไม้ออกไป
3. ไม่ดู ไม่แดง ไม่ดอย
พอหุ้นลงเยอะๆ หลายคนเลือกที่จะปิดจอ ขอไม่รับรู้ว่าเกิดอะไรขึ้น ไม่อยากเห็นว่าพอร์ตลบเท่าไหร่ เพราะทำใจไม่ได้ เลยเลือกที่จะไม่รับรู้ บางคนถึงขั้นลบ App จะได้ไม่ต้องเห็นไม่ต้องเปิดกันเลยทีเดียว
อคติแบบนี้เรียกว่า “Ostrich Effect” เหมือนนกกระจอกเทศชอบเอาหัวมุดทรายเวลาแผ่นดินไหว ฟ้าร้อง หรือเจอเหตุการณ์ไม่ปกติ (แต่ก็มีคนบอกว่า ในความเป็นจริงมันมุดไปดูไข่ที่เก็บฝังดินไว้ต่างหาก)
จริงๆ แล้ว สิ่งที่เราควรทำ ถึงแม้ว่าจะทำใจลำบาก คือ สู้กับความจริง ต้องเปิดดูพอร์ตว่าเสียหายเท่าไหร่ เพราะจะได้แก้ไขทันแต่เนิ่นๆ บางทีอาจจะขาดทุนไม่มาก เอากลับคืนมาได้ แต่ถ้าไม่ดูเลย เปิดดูอีกที พอร์ตติดลบหนัก ก็จะกู้คืนกลับมาลำบาก
4. IKEA Effect
รู้จักแบรนด์ IKEA กันมั้ยครับ เป็นร้านค้าปลีกเฟอร์นิเจอร์ที่ให้เราเดินทางเดียว ไปเลือกเฟอร์นิเจอร์ที่ชอบ จดเบอร์ไว้ แล้วไปเอาที่คลังเก็บสินค้า จ่ายเงิน ขับรถมารับ และเอากลับบ้านไปประกอบเอง กว่าจะได้โต๊ะ เก้าอี้ มาซักตัวนึง ทำตั้งแต่เช้าจรดเย็น เหนื่อยก็เหนื่อย ลำบากก็ลำบาก แถมมีรอยด้วย แต่ทุกคนจะยิ้มได้เพราะเป็นผลงานจากความทุ่มเทของตัวเอง
การลงทุนก็เช่นกัน ถ้าเราศึกษาหุ้นตัวไหนมาเยอะ แกะงบ ลงพื้นที่ คุยกับ IR ผู้บริหาร ลูกค้า จนมั่นใจ เราก็จะรักหุ้นตัวนั้นมากๆ เพราะเราได้ใช้เวลากับมันไปเยอะ ทีนี้ปัญหาที่ตามมาก็คือ เราจะไม่อยากขายหุ้นเมื่อราคามันลง หรือพื้นฐานเริ่มเปลี่ยน กำไรเริ่มหด เราก็จะ bias มองว่าเป็นเรื่องชั่วคราวหรือเปล่า เพราะเราอดคิดไม่ได้ว่า อุตส่าห์ทุ่มเทมาตั้งนาน จะให้ขายไปง่ายๆ เนี่ยนะ ยังอยู่ในวังวนของจังหวะตกหลุมรัก
5. Hot Seat
คุณเคยตกอยู่ในสถานการณ์กดดัน เหมือนกำลังนั่งอยู่บนเก้าอี้ร้อนๆ ต้องรีบตัดสินใจบ้างมั้ยครับ เช่น ประกาศงบตอนเช้าแล้วออกมาแย่ หุ้นโดนเทไหลรัวๆ จะโยนซ้ายดีมั้ย จะเที่ยงครึ่งแล้ว เอาไงดี เดี๋ยวบ่ายมีประชุมนักวิเคราะห์ไม่รู้จะโทนบวกหรือลบ แก๊งค์ 4 โมง มาลากหุ้นกลับแล้ว อ้าวแล้วที่ขายไปเมื่อเช้าทำไง ซื้อกลับดีมั้ยเนี่ย
อาการรีบร้อนลนลานเพราะมีเวลาเป็นข้อจำกัด หลายครั้งทำให้เรารีบซื้อหรือขายเกินไปเพราะโดนกดดันจนเกิดความเสียหายกับพอร์ต
วิธีการแก้ไขปัญหาคือ
• ตั้งสติให้ได้ก่อน รู้ตัวตลอดเวลาว่ากำลังทำอะไรจะได้ไม่มือลั่นซื้อขายโดยไม่ควร
• วางแผนมาตั้งแต่ตอนตลาดปิดจะได้ไม่ขาดสติตอนตลาดเปิด ให้คิดถึง scenario ต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นทั้ง worse-base-best case ถ้าเกิดกรณีไหนมา เราจะทำอย่างไร พอเปิดตลาดจริงก็ทำตามแผนด้วยความมีสติกับตัว
โดยสรุปแล้ว จิตวิทยาเป็นเรื่องฟังสนุก แต่เวลาเจอกับตัวเองแล้วอาจจะไม่สนุก เป็นเรื่องจำเป็นที่เราต้องทำความเข้าใจเพื่อจะได้รู้เท่าทันอารมณ์ จะได้ตัดสินใจได้อย่างเหมาะสมเวลาเจอสถานการณ์ที่ไม่คาดฝัน