บทความ LIB Learn เดิม
P/BV Ratio มองมุมใหม่ให้ลึกทุกมิติ
Written by: StockVitamins x Liberator
P/BV = Price to Book Value Ratio
P/BV = Price/BV = ราคาต่อหุ้น หารด้วย มูลค่าทางบัญชีต่อหุ้น แปลให้ง่ายขึ้น มูลค่าทางบัญชี คือ ส่วนของผู้ถือหุ้น หรือส่วนทุน นั่นเอง
ซึ่งถ้าเราคุ้นเคยกับสมการงบดุล สินทรัพย์ = หนี้สิน + ทุน
ย้ายข้างสมการได้ ทุน = สินทรัพย์ – หนี้สิน
ตีความต่อได้ว่า ถ้าบริษัทอยากเลิกกิจการ เอาสินทรัพย์ออกมาขายได้เงินเท่าไหร่เอาไปคืนหนี้ ก็จะได้ที่เหลือเป็นส่วนทุน แล้วเอามาหารด้วยจำนวนหุ้นทั้งหมด ได้กี่บาทก็แจกจ่ายผู้ถือหุ้นตามสัดส่วนแล้วแยกย้ายกันไป
ยกตัวอย่าง บริษัทมีสินทรัพย์ 1,000 ล้านบาท หนี้สิน 500 ล้านบาท มีทั้งหมด 50 ล้านหุ้น
• ส่วนของผู้ถือหุ้นเท่ากับ 1,000-500 = 500 ล้านบาท
• หาร 50 ล้านหุ้น ได้ 10 บาทต่อหุ้น อันนี้เรียกว่า BV
• สมมติว่าราคาบนกระดาน คือ 10 บาท คำนวณ P/BV ได้เท่ากับ 10/10 = 1 เท่า แปลว่า ซื้อได้ราคาเดียวกับส่วนทุนหรือราคาเดียวกับเจ้าของ
จึงเป็นที่มาของการบอกว่า ถ้า P/BV < 1 คือ เราซื้อหุ้นในราคาต่ำกว่าทุนเจ้าของ และในทางตรงกันข้าม ถ้า P/BV > 1 คือ เราซื้อหุ้นในราคาสูงกว่าเจ้าของ เพราะฉะนั้นการใช้ P/BV จึงเป็นตัววัดที่ดีในแง่ของความเป็นเจ้าของที่จะมีความผันผวนน้อยกว่าการวัดด้านกำไร
ข้อสังเกตเกี่ยวกับการใช้ P/BV
1. ซื้อหุ้น P/BV ต่ำกว่า 1 เท่า ดีหรือไม่ดี
• มองมุมหนึ่ง คือ ดีแน่ ถ้าเจอหุ้นที่เติบโต หรือซื้อช่วงตลาดตกใจ ราคาลงมาเยอะ แปลว่า เรากำลังได้ของดีและถูกกว่าที่เจ้าของลงทุนเองซะอีก
• มองอีกมุมหนึ่ง คือ การตีมูลค่าสินทรัพย์อาจสูงเกินจริง หรือไม่ได้เผื่อเรื่องของสภาพคล่องไว้ เช่น สินทรัพย์เต็มไปด้วยที่ดินที่ไม่ได้ใช้และขายยาก หรือสต๊อคสินค้า IT ล้าสมัย ตกรุ่นอยู่เยอะมาก ขายยังไงก็ราคาตกแน่ๆ ทำให้สินทรัพย์สูงเกินจริง BV เลยสูงตาม P/BV เลยต่ำกว่าที่ควรจะเป็น
• หรือเป็นไปได้ว่า ทุนที่มีไม่สามารถสร้างการเติบโตได้ ตลาดเลยไม่ให้ค่า ราคาก็เลยลดลงต่ำกว่ามูลค่าทางบัญชี อาจจะเป็นเพราะอยู่ในอุตสาหกรรมที่โตช้า บริษัทกำลังอิ่มตัวก็เป็นได้
2. ซื้อหุ้น P/BV สูงกว่า 1 เท่า ดีหรือไม่ดี
• มองแบบตรงๆ คือ เราซื้อในราคาที่ต้องลงทุนสูงกว่าที่เจ้าของกิจการใช้ในการสร้างธุรกิจ ถ้าธุรกิจยังโตได้ก็อาจจะคุ้ม แต่ถ้าไม่โตต่อ ก็อาจจะแปลว่า เราซื้อแพงจริง
• มองอีกมุม หรือเป็นเพราะ บริษัทมีสินทรัพย์ซ่อนเร้นที่ไม่ได้ถูกตีค่าออกมา เช่น ที่ดินยังตีเป็นราคาทุนเมื่อ 20 ปีก่อน แบรนด์โด่งดังใครๆ ก็รู้จัก ผู้บริหารมากฝีมือ เครือข่ายพันธมิตรต่างๆ แต่ไม่สามารถคิดมูลค่าออกมาเป็นตัวเลขได้ พอสินทรัพย์มูลค่าต่ำ BV ก็เลยต่ำตามไปด้วย P/BV ก็เลยดูสูง แต่จริงๆ แล้วซ่อนความสามารถในการทำกำไรไว้อยู่
• ทำให้เป็นไปได้ว่า บริษัทมีแนวโน้มเติบโตได้ในอนาคตจากทุนที่มี นักลงทุนเลยเข้ามาซื้อจนทำให้ราคาสูงกว่ามูลค่าทางบัญชี
3. เปรียบเทียบ P/BV กับคู่แข่งและอุตสาหกรรม
• คล้ายกับ P/E ที่อาจเป็นด้วยธรรมชาติของอุตสาหกรรม ตลาดเลยไม่ให้ P/BV สูงมากเกินไปนัก เช่น หุ้นกลุ่มธนาคาร ส่วนมาก P/BV ก็ไม่ค่อยเกิน 1 เท่า กันมากนัก ยกเว้นบางธนาคารที่ธุรกิจมีความแตกต่างออกไป หรือมีแนวโน้มเติบโตได้
• บางครั้ง เราเห็นหุ้น P/BV สูง 4 เท่า 5 เท่า เช่น หุ้นค้าปลีก ไม่ได้แปลว่า ลงทุนไม่ได้ บางทีเป็นเพราะตลาดให้ค่าสูงสำหรับอุตสาหกรรมนี้ เราอาจเจอหุ้นที่ P/BV ตัวเลขสูง แต่เมื่อเปรียบเทียบแล้วต่ำกว่าคู่แข่งมาก ที่สำคัญยังมีการเติบโตได้อีก แบบนี้ก็เรียกว่าถูก ได้เช่นกัน
โดยสรุป P/BV เป็นอีกหนึ่งอัตราส่วนทางการเงินที่เหมาะกับการดูว่า หุ้นที่เราสนใจนั้นมีราคาถูกหรือแพงกว่าที่เจ้าของลงทุนเองมากน้อยแค่ไหน แต่จำเป็นที่ต้องเข้าไปดูให้ลึกถึงเหตุผลเพิ่มเติม คุณภาพสินทรัพย์ที่มี และแน่นอนว่า จำเป็นต้องดูควบคู่ไปกับการเติบโตของกิจการด้วยเช่นกัน
เพราะหุ้นถูก แต่ไม่โต ราคาก็ไม่ขึ้นได้
แต่หุ้นแพง แล้วโตต่อ ราคาก็ไปได้อีกไกล
29.03.2023
P/BV = Price to Book Value Ratio
P/BV = Price/BV = ราคาต่อหุ้น หารด้วย มูลค่าทางบัญชีต่อหุ้น แปลให้ง่ายขึ้น มูลค่าทางบัญชี คือ ส่วนของผู้ถือหุ้น หรือส่วนทุน นั่นเอง
ซึ่งถ้าเราคุ้นเคยกับสมการงบดุล สินทรัพย์ = หนี้สิน + ทุน
ย้ายข้างสมการได้ ทุน = สินทรัพย์ – หนี้สิน
ตีความต่อได้ว่า ถ้าบริษัทอยากเลิกกิจการ เอาสินทรัพย์ออกมาขายได้เงินเท่าไหร่เอาไปคืนหนี้ ก็จะได้ที่เหลือเป็นส่วนทุน แล้วเอามาหารด้วยจำนวนหุ้นทั้งหมด ได้กี่บาทก็แจกจ่ายผู้ถือหุ้นตามสัดส่วนแล้วแยกย้ายกันไป
ยกตัวอย่าง บริษัทมีสินทรัพย์ 1,000 ล้านบาท หนี้สิน 500 ล้านบาท มีทั้งหมด 50 ล้านหุ้น
• ส่วนของผู้ถือหุ้นเท่ากับ 1,000-500 = 500 ล้านบาท
• หาร 50 ล้านหุ้น ได้ 10 บาทต่อหุ้น อันนี้เรียกว่า BV
• สมมติว่าราคาบนกระดาน คือ 10 บาท คำนวณ P/BV ได้เท่ากับ 10/10 = 1 เท่า แปลว่า ซื้อได้ราคาเดียวกับส่วนทุนหรือราคาเดียวกับเจ้าของ
จึงเป็นที่มาของการบอกว่า ถ้า P/BV < 1 คือ เราซื้อหุ้นในราคาต่ำกว่าทุนเจ้าของ และในทางตรงกันข้าม ถ้า P/BV > 1 คือ เราซื้อหุ้นในราคาสูงกว่าเจ้าของ เพราะฉะนั้นการใช้ P/BV จึงเป็นตัววัดที่ดีในแง่ของความเป็นเจ้าของที่จะมีความผันผวนน้อยกว่าการวัดด้านกำไร
ข้อสังเกตเกี่ยวกับการใช้ P/BV
1. ซื้อหุ้น P/BV ต่ำกว่า 1 เท่า ดีหรือไม่ดี
• มองมุมหนึ่ง คือ ดีแน่ ถ้าเจอหุ้นที่เติบโต หรือซื้อช่วงตลาดตกใจ ราคาลงมาเยอะ แปลว่า เรากำลังได้ของดีและถูกกว่าที่เจ้าของลงทุนเองซะอีก
• มองอีกมุมหนึ่ง คือ การตีมูลค่าสินทรัพย์อาจสูงเกินจริง หรือไม่ได้เผื่อเรื่องของสภาพคล่องไว้ เช่น สินทรัพย์เต็มไปด้วยที่ดินที่ไม่ได้ใช้และขายยาก หรือสต๊อคสินค้า IT ล้าสมัย ตกรุ่นอยู่เยอะมาก ขายยังไงก็ราคาตกแน่ๆ ทำให้สินทรัพย์สูงเกินจริง BV เลยสูงตาม P/BV เลยต่ำกว่าที่ควรจะเป็น
• หรือเป็นไปได้ว่า ทุนที่มีไม่สามารถสร้างการเติบโตได้ ตลาดเลยไม่ให้ค่า ราคาก็เลยลดลงต่ำกว่ามูลค่าทางบัญชี อาจจะเป็นเพราะอยู่ในอุตสาหกรรมที่โตช้า บริษัทกำลังอิ่มตัวก็เป็นได้
2. ซื้อหุ้น P/BV สูงกว่า 1 เท่า ดีหรือไม่ดี
• มองแบบตรงๆ คือ เราซื้อในราคาที่ต้องลงทุนสูงกว่าที่เจ้าของกิจการใช้ในการสร้างธุรกิจ ถ้าธุรกิจยังโตได้ก็อาจจะคุ้ม แต่ถ้าไม่โตต่อ ก็อาจจะแปลว่า เราซื้อแพงจริง
• มองอีกมุม หรือเป็นเพราะ บริษัทมีสินทรัพย์ซ่อนเร้นที่ไม่ได้ถูกตีค่าออกมา เช่น ที่ดินยังตีเป็นราคาทุนเมื่อ 20 ปีก่อน แบรนด์โด่งดังใครๆ ก็รู้จัก ผู้บริหารมากฝีมือ เครือข่ายพันธมิตรต่างๆ แต่ไม่สามารถคิดมูลค่าออกมาเป็นตัวเลขได้ พอสินทรัพย์มูลค่าต่ำ BV ก็เลยต่ำตามไปด้วย P/BV ก็เลยดูสูง แต่จริงๆ แล้วซ่อนความสามารถในการทำกำไรไว้อยู่
• ทำให้เป็นไปได้ว่า บริษัทมีแนวโน้มเติบโตได้ในอนาคตจากทุนที่มี นักลงทุนเลยเข้ามาซื้อจนทำให้ราคาสูงกว่ามูลค่าทางบัญชี
3. เปรียบเทียบ P/BV กับคู่แข่งและอุตสาหกรรม
• คล้ายกับ P/E ที่อาจเป็นด้วยธรรมชาติของอุตสาหกรรม ตลาดเลยไม่ให้ P/BV สูงมากเกินไปนัก เช่น หุ้นกลุ่มธนาคาร ส่วนมาก P/BV ก็ไม่ค่อยเกิน 1 เท่า กันมากนัก ยกเว้นบางธนาคารที่ธุรกิจมีความแตกต่างออกไป หรือมีแนวโน้มเติบโตได้
• บางครั้ง เราเห็นหุ้น P/BV สูง 4 เท่า 5 เท่า เช่น หุ้นค้าปลีก ไม่ได้แปลว่า ลงทุนไม่ได้ บางทีเป็นเพราะตลาดให้ค่าสูงสำหรับอุตสาหกรรมนี้ เราอาจเจอหุ้นที่ P/BV ตัวเลขสูง แต่เมื่อเปรียบเทียบแล้วต่ำกว่าคู่แข่งมาก ที่สำคัญยังมีการเติบโตได้อีก แบบนี้ก็เรียกว่าถูก ได้เช่นกัน
โดยสรุป P/BV เป็นอีกหนึ่งอัตราส่วนทางการเงินที่เหมาะกับการดูว่า หุ้นที่เราสนใจนั้นมีราคาถูกหรือแพงกว่าที่เจ้าของลงทุนเองมากน้อยแค่ไหน แต่จำเป็นที่ต้องเข้าไปดูให้ลึกถึงเหตุผลเพิ่มเติม คุณภาพสินทรัพย์ที่มี และแน่นอนว่า จำเป็นต้องดูควบคู่ไปกับการเติบโตของกิจการด้วยเช่นกัน
เพราะหุ้นถูก แต่ไม่โต ราคาก็ไม่ขึ้นได้
แต่หุ้นแพง แล้วโตต่อ ราคาก็ไปได้อีกไกล
29.03.2023