บทความ LIB Learn เดิม
ท่าทีจีนต่อสงครามฮามาส-อิสราเอล
Written by : #DrArmTungnirun x #Liberator
ยุทธศาสตร์เชิงรุกของจีนในช่วงที่ผ่านมาในตะวันออกกลาง อาจสรุปได้ 3 ข้อ
หนึ่ง จีนต้องการแสดงบทบาทแทนที่สหรัฐฯ ที่ค่อยๆถอยออกจากภูมิภาคตะวันออกลาง สหรัฐฯ ค่อยๆ ถอนความสนใจออกจากตะวันออกกลาง เพราะต้องการจะเน้นความสนใจทั้งหมดไปที่การจัดการจีนกับรัสเซีย ในขณะเดียวกัน สหรัฐฯ ก็ไม่จำเป็นต้องพึ่งพาน้ำมันจากตะวันออกกลางเช่นในอดีต เพราะการค้นพบ Shale Oil ในสหรัฐฯ ทำให้สหรัฐฯ มีความมั่นคงในพลังงานจากแหล่งผลิตภายในประเทศ
สอง จีนเน้นความร่วมมือทางเศรษฐกิจเป็นแกนกลางของความสัมพันธ์ของจีนกับทุกฝ่ายในภูมิภาค การลงทุนของจีนในตะวันออกกลางคิดเป็นสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 23 ของการลงทุนต่างประเทศของจีนภายใต้ความร่วมมือ Belt and Road จีนเป็นผู้ลงทุนรายใหญ่ในซาอุดิอารเบีย และมีความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องกับอิสราเอล ขณะเดียวกัน จีนก็มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับอิหร่าน ซึ่งเป็นปฏิปักษ์สำคัญของสหรัฐฯ และเป็นผู้สนับสนุนกลุ่มฮามาส
สาม จีนหลีกเลี่ยงที่จะเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับปัญหาเรื่องความขัดแย้งทางการเมืองในภูมิภาคโดยตรง และพยายามรักษาความสัมพันธ์กับทุกฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นกล่มตาลีบันในอัฟกานิสถาน กลุ่มฮามาสในฉนวนกาซ่า ขณะเดียวกันก็รักษาความสัมพันธ์กับอิสราเอล และมีความสัมพันธ์ที่ดีกับทั้งอิหร่านและซาอุดิอารเบีย ซึ่งอิหร่านกับซาอุดิอารเบียเองก็เป็นไม้เบื่อไม้เมามายาวนาน
เมื่อปีที่แล้ว จีนสร้างข่าวใหญ่ในการเป็นกาวใจเชื่อมระหว่างซาอุดิอารเบียกับอิหร่านให้หันมาฟื้นฟูความสัมพันธ์ต่อกัน ดีลนั้นจีนยิงนัดเดียวได้นกหลายตัว ทั้งแสดงบทบาทเชิงรุกแทนที่สหรัฐฯ ในภูมิภาค ส่งเสริมให้จีนขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจทั้งในสองประเทศ และแสดงบทบาทการเป็นผู้นำของจีนบนเวทีโลกหลายขั้ว
หากเราเข้าใจพื้นฐานความคิดของจีนข้างต้น จึงไม่แปลกใจที่จีนจะแสดงท่าทีเป็นกลางและระมัดระวังอย่างมากในกรณีของสงครามฮามาสและอิสราเอล ในขณะที่สหรัฐฯ และพันธมิตรตะวันตกต่างประณามฮามาสอย่างรุนแรงและเรียกการโจมตีเริ่มต้นของฮามาสต่ออิสราเอลว่าเป็นการก่อการร้ายที่ยอมรับไม่ได้ จีนหลีกเลี่ยงที่จะเอ่ยชื่อฮามาสในการกล่าวถึงความขัดแย้ง และหลีกเลี่ยงที่จะประณามฮามาสโดยตรง
จุดยืนทางการของจีน คือ “ไม่เลือกข้าง และไม่สร้างศัตรู” จีนแถลงว่าประณาม “ทุกฝ่าย” (ไม่เอ่ยชื่อใครทั้งสิ้น แต่ย่อมหมายถึงทั้งฮามาสและอิสราเอล) ที่โจมตีสร้างความเสียหายให้แก่พลเรือน และเรียกร้องสนับสนุนการนำไปสู่การเกิดของสองรัฐในบริเวณของความขัดแย้ง กล่าวคือเรียกร้องการนำไปสู่การเกิดขึ้นของรัฐปาเลสไตน์ ซึ่งใครก็รู้ว่าแทบจะเป็นไปไม่ได้ในสถานการณ์ปัจจุบัน
สงครามระหว่างฮามาสและอิสราเอลนั้น แนวโน้มคงยืดเยื้อและรุนแรงต่อเนื่อง สาเหตุสำคัญเพราะปัจจัยการเมืองภายในของอิสราเอล ซึ่งตอนนี้เอียงไปทางขวาอย่างมาก และมีความขัดแย้งทางการเมืองภายในสูงมากจากนโยบายต่างๆ ของนายกฯ เนทันยาฮูในช่วงหลายปีที่ผ่านมา
มีคนบอกว่าเนทันยาฮูไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากต้องตอบโต้ฮามาสอย่างรุนแรง และย่อมนำไปสู่ความเสียหายอย่างใหญ่หลวงต่อพลเรือนบริสุทธิ์ในฉนวนกาซ่า และยิ่งจุดไฟความขัดแย้ง แต่เขาจำเป็นต้องเดินเส้นทางนี้ เพื่อเรียกเสียงสนับสนุนจากขั้วการเมืองขวาจัด ให้ช่วยรักษาอำนาจของตนท่ามกลางความขัดแย้งทางการเมืองภายในอิสราเอลที่สูงมาก
หากเรามองกระดานภูมิรัฐศาสตร์ที่กว้างขึ้น การตัดสินใจโจมตีอิสราเอลของกลุ่มฮามาส เกิดขึ้นภายใต้บริบทของความพยายามของสหรัฐฯ ที่ต้องการส่งเสริมให้เกิดการฟื้นความสัมพันธ์ระหว่างอิสราเอลและซาอุดิอารเบีย ภายหลังการโจมตีของฮามาสและการโต้กลับโจมตีชาวปาเลสไตน์ของอิสราเอล ย่อมส่งผลให้การฟื้นความสัมพันธ์ระหว่างอิสราเอลและซาอุดิอารเบียเป็นเรื่องเป็นไปไม่ได้อีกต่อไป
มีคนถามว่าเรื่องนี้มีภาพกระดานใหญ่กว่านั้นไหม เช่นมีใครอยู่เบื้องหลังอย่างอิหร่าน ซึ่งสนับสนุนกลุ่มฮามาสมาโดยตลอด รวมทั้งรัสเซียที่กำลังติดพันกับการสู่รบกับการสนับสนุนของตะวันตกในยูเครน รวมทั้งจีนที่ก็สนิทสนมกับทั้งอิหร่านและรัสเซีย
ในประเด็นนี้ ประธานาธิบดีไบเดนตอบเองว่าไม่มีหลักฐานใดๆ สนับสนุนความเชื่อว่ามีมหาอำนาจอื่นเข้ามาอยู่เบื้องหลัง สนับสนุน หรือเกี่ยวข้อง แต่นักวิเคราะห์ทั่วไปย่อมเห็นได้ว่า ไม่ว่าจะมีมหาอำนาจอื่นเกี่ยวข้องโดยตรงหรือไม่ การโจมตีของฮามาสในครั้งนี้ส่งผลต่อเกมใหญ่ของการเมืองโลก
เพราะสหรัฐฯ เองตอนนี้ต้องรับมือกับสองสงครามพร้อมกัน และเป็นสองสงครามที่ดูเหมือนจะยืดเยื้อและท้าทายความอึดของสหรัฐฯ ทั้งคู่ ว่าสหรัฐฯ จะอึดพอที่จะส่งเงินสนับสนุนทั้งสองสมรภูมิได้ต่อเนื่องยาวนานเพียงใดกันแน่ ในขณะที่สหรัฐฯ เองก็เข้าสู่ปีเลือกตั้งและมีความขัดแย้งทางการเมืองภายในที่สูงมาก
มีคำถามชวนคิดว่า หากจุดร้อนอย่างไต้หวันปะทุขึ้นอีก โดยเฉพาะในช่วงก่อนการเลือกตั้งไต้หวัน (การเลือกตั้งไต้หวันจะมีขึ้นในเดือนมกราคม ช่วงปลายปีอุณหภูมิการเมืองในช่องแคบไต้หวันย่อมจะร้อนขึ้น) หากเกิดอุบัติเหตุหรือความขัดแย้งในช่องแคบไต้หวันขึ้นมา เท่ากับสหรัฐฯ จะเผชิญสามสงครามพร้อมกัน จะไหวไหม ภาพจะออกมาเช่นไร
ส่วนตัวผมยังคิดว่าจีนมีปัญหาภายในมากมายในขณะนี้ ไม่น่าต้องการเข้าไปยุ่งกับความขัดแย้งหรือสร้างความไม่มีเสถียรภาพในเศรษฐกิจการเมืองโลกเพิ่มขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ ดังที่จีนดูเหมือนจะพยายามอยู่ห่างจากความขัดแย้งในตะวันออกกลาง เล่นบทมองดูอย่างห่างๆ มากกว่า
แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่า สงครามฮามาส-อิสราเอล ซึ่งซ้อนทับกับสงครามยูเครนที่ยังต่อเนื่อง ปลุกให้เราตื่นและต้องยอมรับความจริงว่า โลกได้เข้าสู่ยุคไม่มีใครเกรงใจสหรัฐฯ และยุคของความผันผวนเชิงภูมิรัฐศาสตร์อย่างเต็มตัว
ยุทธศาสตร์เชิงรุกของจีนในช่วงที่ผ่านมาในตะวันออกกลาง อาจสรุปได้ 3 ข้อ
หนึ่ง จีนต้องการแสดงบทบาทแทนที่สหรัฐฯ ที่ค่อยๆถอยออกจากภูมิภาคตะวันออกลาง สหรัฐฯ ค่อยๆ ถอนความสนใจออกจากตะวันออกกลาง เพราะต้องการจะเน้นความสนใจทั้งหมดไปที่การจัดการจีนกับรัสเซีย ในขณะเดียวกัน สหรัฐฯ ก็ไม่จำเป็นต้องพึ่งพาน้ำมันจากตะวันออกกลางเช่นในอดีต เพราะการค้นพบ Shale Oil ในสหรัฐฯ ทำให้สหรัฐฯ มีความมั่นคงในพลังงานจากแหล่งผลิตภายในประเทศ
สอง จีนเน้นความร่วมมือทางเศรษฐกิจเป็นแกนกลางของความสัมพันธ์ของจีนกับทุกฝ่ายในภูมิภาค การลงทุนของจีนในตะวันออกกลางคิดเป็นสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 23 ของการลงทุนต่างประเทศของจีนภายใต้ความร่วมมือ Belt and Road จีนเป็นผู้ลงทุนรายใหญ่ในซาอุดิอารเบีย และมีความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องกับอิสราเอล ขณะเดียวกัน จีนก็มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับอิหร่าน ซึ่งเป็นปฏิปักษ์สำคัญของสหรัฐฯ และเป็นผู้สนับสนุนกลุ่มฮามาส
สาม จีนหลีกเลี่ยงที่จะเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับปัญหาเรื่องความขัดแย้งทางการเมืองในภูมิภาคโดยตรง และพยายามรักษาความสัมพันธ์กับทุกฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นกล่มตาลีบันในอัฟกานิสถาน กลุ่มฮามาสในฉนวนกาซ่า ขณะเดียวกันก็รักษาความสัมพันธ์กับอิสราเอล และมีความสัมพันธ์ที่ดีกับทั้งอิหร่านและซาอุดิอารเบีย ซึ่งอิหร่านกับซาอุดิอารเบียเองก็เป็นไม้เบื่อไม้เมามายาวนาน
เมื่อปีที่แล้ว จีนสร้างข่าวใหญ่ในการเป็นกาวใจเชื่อมระหว่างซาอุดิอารเบียกับอิหร่านให้หันมาฟื้นฟูความสัมพันธ์ต่อกัน ดีลนั้นจีนยิงนัดเดียวได้นกหลายตัว ทั้งแสดงบทบาทเชิงรุกแทนที่สหรัฐฯ ในภูมิภาค ส่งเสริมให้จีนขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจทั้งในสองประเทศ และแสดงบทบาทการเป็นผู้นำของจีนบนเวทีโลกหลายขั้ว
หากเราเข้าใจพื้นฐานความคิดของจีนข้างต้น จึงไม่แปลกใจที่จีนจะแสดงท่าทีเป็นกลางและระมัดระวังอย่างมากในกรณีของสงครามฮามาสและอิสราเอล ในขณะที่สหรัฐฯ และพันธมิตรตะวันตกต่างประณามฮามาสอย่างรุนแรงและเรียกการโจมตีเริ่มต้นของฮามาสต่ออิสราเอลว่าเป็นการก่อการร้ายที่ยอมรับไม่ได้ จีนหลีกเลี่ยงที่จะเอ่ยชื่อฮามาสในการกล่าวถึงความขัดแย้ง และหลีกเลี่ยงที่จะประณามฮามาสโดยตรง
จุดยืนทางการของจีน คือ “ไม่เลือกข้าง และไม่สร้างศัตรู” จีนแถลงว่าประณาม “ทุกฝ่าย” (ไม่เอ่ยชื่อใครทั้งสิ้น แต่ย่อมหมายถึงทั้งฮามาสและอิสราเอล) ที่โจมตีสร้างความเสียหายให้แก่พลเรือน และเรียกร้องสนับสนุนการนำไปสู่การเกิดของสองรัฐในบริเวณของความขัดแย้ง กล่าวคือเรียกร้องการนำไปสู่การเกิดขึ้นของรัฐปาเลสไตน์ ซึ่งใครก็รู้ว่าแทบจะเป็นไปไม่ได้ในสถานการณ์ปัจจุบัน
สงครามระหว่างฮามาสและอิสราเอลนั้น แนวโน้มคงยืดเยื้อและรุนแรงต่อเนื่อง สาเหตุสำคัญเพราะปัจจัยการเมืองภายในของอิสราเอล ซึ่งตอนนี้เอียงไปทางขวาอย่างมาก และมีความขัดแย้งทางการเมืองภายในสูงมากจากนโยบายต่างๆ ของนายกฯ เนทันยาฮูในช่วงหลายปีที่ผ่านมา
มีคนบอกว่าเนทันยาฮูไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากต้องตอบโต้ฮามาสอย่างรุนแรง และย่อมนำไปสู่ความเสียหายอย่างใหญ่หลวงต่อพลเรือนบริสุทธิ์ในฉนวนกาซ่า และยิ่งจุดไฟความขัดแย้ง แต่เขาจำเป็นต้องเดินเส้นทางนี้ เพื่อเรียกเสียงสนับสนุนจากขั้วการเมืองขวาจัด ให้ช่วยรักษาอำนาจของตนท่ามกลางความขัดแย้งทางการเมืองภายในอิสราเอลที่สูงมาก
หากเรามองกระดานภูมิรัฐศาสตร์ที่กว้างขึ้น การตัดสินใจโจมตีอิสราเอลของกลุ่มฮามาส เกิดขึ้นภายใต้บริบทของความพยายามของสหรัฐฯ ที่ต้องการส่งเสริมให้เกิดการฟื้นความสัมพันธ์ระหว่างอิสราเอลและซาอุดิอารเบีย ภายหลังการโจมตีของฮามาสและการโต้กลับโจมตีชาวปาเลสไตน์ของอิสราเอล ย่อมส่งผลให้การฟื้นความสัมพันธ์ระหว่างอิสราเอลและซาอุดิอารเบียเป็นเรื่องเป็นไปไม่ได้อีกต่อไป
มีคนถามว่าเรื่องนี้มีภาพกระดานใหญ่กว่านั้นไหม เช่นมีใครอยู่เบื้องหลังอย่างอิหร่าน ซึ่งสนับสนุนกลุ่มฮามาสมาโดยตลอด รวมทั้งรัสเซียที่กำลังติดพันกับการสู่รบกับการสนับสนุนของตะวันตกในยูเครน รวมทั้งจีนที่ก็สนิทสนมกับทั้งอิหร่านและรัสเซีย
ในประเด็นนี้ ประธานาธิบดีไบเดนตอบเองว่าไม่มีหลักฐานใดๆ สนับสนุนความเชื่อว่ามีมหาอำนาจอื่นเข้ามาอยู่เบื้องหลัง สนับสนุน หรือเกี่ยวข้อง แต่นักวิเคราะห์ทั่วไปย่อมเห็นได้ว่า ไม่ว่าจะมีมหาอำนาจอื่นเกี่ยวข้องโดยตรงหรือไม่ การโจมตีของฮามาสในครั้งนี้ส่งผลต่อเกมใหญ่ของการเมืองโลก
เพราะสหรัฐฯ เองตอนนี้ต้องรับมือกับสองสงครามพร้อมกัน และเป็นสองสงครามที่ดูเหมือนจะยืดเยื้อและท้าทายความอึดของสหรัฐฯ ทั้งคู่ ว่าสหรัฐฯ จะอึดพอที่จะส่งเงินสนับสนุนทั้งสองสมรภูมิได้ต่อเนื่องยาวนานเพียงใดกันแน่ ในขณะที่สหรัฐฯ เองก็เข้าสู่ปีเลือกตั้งและมีความขัดแย้งทางการเมืองภายในที่สูงมาก
มีคำถามชวนคิดว่า หากจุดร้อนอย่างไต้หวันปะทุขึ้นอีก โดยเฉพาะในช่วงก่อนการเลือกตั้งไต้หวัน (การเลือกตั้งไต้หวันจะมีขึ้นในเดือนมกราคม ช่วงปลายปีอุณหภูมิการเมืองในช่องแคบไต้หวันย่อมจะร้อนขึ้น) หากเกิดอุบัติเหตุหรือความขัดแย้งในช่องแคบไต้หวันขึ้นมา เท่ากับสหรัฐฯ จะเผชิญสามสงครามพร้อมกัน จะไหวไหม ภาพจะออกมาเช่นไร
ส่วนตัวผมยังคิดว่าจีนมีปัญหาภายในมากมายในขณะนี้ ไม่น่าต้องการเข้าไปยุ่งกับความขัดแย้งหรือสร้างความไม่มีเสถียรภาพในเศรษฐกิจการเมืองโลกเพิ่มขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ ดังที่จีนดูเหมือนจะพยายามอยู่ห่างจากความขัดแย้งในตะวันออกกลาง เล่นบทมองดูอย่างห่างๆ มากกว่า
แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่า สงครามฮามาส-อิสราเอล ซึ่งซ้อนทับกับสงครามยูเครนที่ยังต่อเนื่อง ปลุกให้เราตื่นและต้องยอมรับความจริงว่า โลกได้เข้าสู่ยุคไม่มีใครเกรงใจสหรัฐฯ และยุคของความผันผวนเชิงภูมิรัฐศาสตร์อย่างเต็มตัว