บทความ LIB Learn เดิม
เศรษฐกิจจีนกระเตื้อง แต่ยังไม่กระโดด
Written by : #DrArmTungnirun x #Liberator
ภายหลังจากตัวเลขเศรษฐกิจจีน 2-3 เดือนที่ผ่านมา ชวนให้หลายฝ่ายวิตกกังวล จนเราเริ่มเห็นรัฐบาลจีนอัดฉีดมาตรการต่างๆ มากขึ้นเพื่อกระตุ้นและพยุงเศรษฐกิจ แม้จะไม่มีกระสุนเม็ดใหญ่ชนิดบาซูก้าการคลังออกมา แต่รัฐบาลจีนก็ได้ดำเนินนโยบายการเงินการคลังอย่างผ่อนคลาย ตลาดเองก็จับตามองผลลัพธ์ของการกระตุ้นหัวใจของรัฐบาลจีน
มาตรการกระตุ้นต่างๆ ของจีนได้ผลระดับหนึ่งในการกระตุ้นภาคการบริโภคและภาคการผลิต แต่ในส่วนของภาคอสังหาริมทรัพย์นั้น แม้รัฐบาลจีนจะออกมาตรการส่งเสริมเพื่อพยุงให้ทรงตัว แต่ไม่ได้มีจุดหมายให้ภาคอสังหาริมทรัพย์กลับมาคึกคักอีก ด้วยเหตุผลทางยุทธศาสตร์ ดังนั้นเมื่อพิจารณาถึงความสำคัญของภาคอสังหาริมทรัพย์ต่อเศรษฐกิจจีน ภาคนี้ไม่ฟื้น ก็ย่อมส่งผลให้เศรษฐกิจจีนยากที่กระโดดหรือฟื้นตัวแรงได้
ตัวเลขเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ภาคเศรษฐกิจจีนที่เริ่มฟื้น ได้แก่ ภาคการบริโภคและภาคการผลิต โดยยอดค้าปลีกปรับขึ้น 4.6% ในเดือนสิงหาคมจากปีก่อน เทียบกับการเพิ่มเพียง 2.5% เมื่อเดือนกรกฎาคม ขณะที่ยอดขายรถปรับขึ้น 5.1% และผลผลิตภาคอุตสาหกรรมขยายตัว 4.5% ในเดือนสิงหาคม เทียบกับการเพิ่มขึ้น 3.7% ในเดือนกรกฎาคม
อีกตัวเลขหนึ่งที่สะท้อนทิศทางบวกคือ การปล่อยสินเชื่อของภาคธนาคารของจีน ซึ่งในเดือนสิงหาคมปล่อยสูงถึง 1.36 ล้านล้านหยวน เมื่อเปรียบเทียบกับ 345,900 ล้านหยวนในเดือนกรกฎาคม
ตัวเลขเหล่านี้ล้วนเกินความคาดหมายของนักวิเคราะห์ และสะท้อนศรษฐกิจจีนในภาคการบริโภคและภาคการผลิตที่ทรงตัวและเริ่มกลับทิศทาง ไม่ได้ทรุดลงไปอีกจากเดิมดังที่เคยกังวลกัน
อย่างไรก็ตาม ภาคอสังหาริมทรัพย์ยังคงเผชิญภาวะความท้าทายอยู่เช่นเดิม การลงทุนในภาคอสังหาริมทรัพย์ลดลง 8.8% ในเดือนสิงหาคม เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นอัตราการหดตัวต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปี แม้ว่ารัฐบาลจีนจะเริ่มออกมาตรการต่างๆ เพิ่มเติมขึ้นในการพยุงภาคอสังหาริมทรัพย์ ตัวอย่างเช่น อัตราการดาวน์อสังหาริมทรัพย์หลังที่สองในจีน จากเดิมผู้ที่ซื้ออสังหาริมทรัพย์จะต้องจ่ายเงิน 70% ของราคาอสังหาริมทรัพย์ในบางเมือง ล่าสุดรัฐบาลได้ผ่อนคลายให้จ่ายเงินดาวน์เพียงแค่ 35% เท่านั้น
นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่มองว่าภาคอสังหาริมทรัพย์ของจีนคงไม่ฟื้นหรือกระโดดอีกแล้ว เพราะรัฐบาลจีนมองการจัดการภาคอสังหาริมทรัพย์เป็นเรื่องความเสี่ยงเชิงยุทธศาสตร์ จีนต้องการเลิกพึ่งพาการเติบโตของภาคเศรษฐกิจนี้ที่รัฐบาลมองว่าเป็นการโตในลักษณะฟองสบู่ เพื่อเปลี่ยนสู่โมเดลการเติบโตใหม่ที่เน้นการบริโภคมากขึ้น ซึ่งในช่วงเปลี่ยนผ่านย่อมจะต้องเจ็บตัวไปอีกสักระยะเลยทีเดียว
ทั้งนี้สาเหตุเพราะภาคอสังหาริมทรัพย์มีความเชื่อมโยงกับห่วงโซ่อุตสาหกรรมหลายห่วงโซ่ นอกจากนั้น ความมั่งคั่งของชาวจีนส่วนใหญ่สะสมอยู่ในภาคอสังหาริมทรัพย์ เมื่อภาคนี้เกิดปัญหา ย่อมกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคโดยตรง ส่งผลให้ผู้บริโภคชาวจีนรัดเข็มขัดและระมัดระวังการใช้จ่ายเงิน จึงสั่นสะเทือนเศรษฐกิจทั้งวงจร
หากให้สรุปสถานการณ์เศรษฐกิจจีนตอนนี้ ผมคิดว่าระยะสั้นมีสัญญาณว่าจุดต่ำสุดได้ผ่านไปแล้วและเริ่มกลับมาทรงตัว แต่ระยะยาวจีนยังคงเผชิญปัญหาเชิงโครงสร้าง ทั้งการเปลี่ยนผ่านการเติบโตจากการพึ่งพาภาคอสังหาริมทรัพย์ไปสู่โมเดลการเติบโตที่เน้นการบริโภค รวมทั้งปัญหาสงครามการค้าและเศรษฐกิจโลกที่ซบเซา ล้วนส่งผลให้กลจักรในการเติบโตในอดีตของจีนทั้งการลงทุนและการส่งออกต่างก็สะดุดลง
ผมยังมั่นใจว่าโอกาสที่จะเกิด Hard Landing ในจีนมีน้อยมาก เพราะรัฐบาลจีนยังคงควบคุมหลายภาคส่วนทางเศรษฐกิจ ทำให้สามารถรับมือกับความเสี่ยงและภาวะการเปราะบางของภาคการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ให้ขาลงทางเศรษฐกิจลามจนกลายเป็นวิกฤตการเงิน เพราะฉะนั้น หากใครกังวลว่าจะมีวิกฤตเป็ดปักกิ่งชนิดซ้ำรอยวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์และวิกฤตต้มยำกุ้ง ก็คิดว่าไม่ต้องกังวลมากนัก เพราะความเป็นไปได้ต่ำมาก
แน่นอนครับว่า เศรษฐกิจจีนที่ยังไม่ฟื้นตัวดี ย่อมส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยด้วย การส่งออกของไทยในเดือนกรกฎาคม หดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 10 แล้ว ปัจจัยฉุดรั้งสำคัญปัจจัยหนึ่งก็คือตลาดจีนที่เป็นตลาดส่งออกใหญ่ของไทยยังคงไม่ฟื้นตัวดี
ส่วนตัวเลขนักท่องเที่ยวจีนนั้น น่าลุ้นครับว่าหลังตัวเลขการบริโภคของจีนเริ่มปรับดีขึ้น ประกอบกับมาตราการฟรีวีซ่าของรัฐบาลไทย จะส่งผลบวกมากน้อยเพียงใดต่อการปรับเพิ่มตัวเลขนักท่องเที่ยวจีนที่จะเข้าไทยเดือนตุลาคม ซึ่งเป็นเดือนหยุดยาววันชาติจีนและเป็นฤดูการท่องเที่ยวสำคัญของชาวจีน
ภายหลังจากตัวเลขเศรษฐกิจจีน 2-3 เดือนที่ผ่านมา ชวนให้หลายฝ่ายวิตกกังวล จนเราเริ่มเห็นรัฐบาลจีนอัดฉีดมาตรการต่างๆ มากขึ้นเพื่อกระตุ้นและพยุงเศรษฐกิจ แม้จะไม่มีกระสุนเม็ดใหญ่ชนิดบาซูก้าการคลังออกมา แต่รัฐบาลจีนก็ได้ดำเนินนโยบายการเงินการคลังอย่างผ่อนคลาย ตลาดเองก็จับตามองผลลัพธ์ของการกระตุ้นหัวใจของรัฐบาลจีน
มาตรการกระตุ้นต่างๆ ของจีนได้ผลระดับหนึ่งในการกระตุ้นภาคการบริโภคและภาคการผลิต แต่ในส่วนของภาคอสังหาริมทรัพย์นั้น แม้รัฐบาลจีนจะออกมาตรการส่งเสริมเพื่อพยุงให้ทรงตัว แต่ไม่ได้มีจุดหมายให้ภาคอสังหาริมทรัพย์กลับมาคึกคักอีก ด้วยเหตุผลทางยุทธศาสตร์ ดังนั้นเมื่อพิจารณาถึงความสำคัญของภาคอสังหาริมทรัพย์ต่อเศรษฐกิจจีน ภาคนี้ไม่ฟื้น ก็ย่อมส่งผลให้เศรษฐกิจจีนยากที่กระโดดหรือฟื้นตัวแรงได้
ตัวเลขเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ภาคเศรษฐกิจจีนที่เริ่มฟื้น ได้แก่ ภาคการบริโภคและภาคการผลิต โดยยอดค้าปลีกปรับขึ้น 4.6% ในเดือนสิงหาคมจากปีก่อน เทียบกับการเพิ่มเพียง 2.5% เมื่อเดือนกรกฎาคม ขณะที่ยอดขายรถปรับขึ้น 5.1% และผลผลิตภาคอุตสาหกรรมขยายตัว 4.5% ในเดือนสิงหาคม เทียบกับการเพิ่มขึ้น 3.7% ในเดือนกรกฎาคม
อีกตัวเลขหนึ่งที่สะท้อนทิศทางบวกคือ การปล่อยสินเชื่อของภาคธนาคารของจีน ซึ่งในเดือนสิงหาคมปล่อยสูงถึง 1.36 ล้านล้านหยวน เมื่อเปรียบเทียบกับ 345,900 ล้านหยวนในเดือนกรกฎาคม
ตัวเลขเหล่านี้ล้วนเกินความคาดหมายของนักวิเคราะห์ และสะท้อนศรษฐกิจจีนในภาคการบริโภคและภาคการผลิตที่ทรงตัวและเริ่มกลับทิศทาง ไม่ได้ทรุดลงไปอีกจากเดิมดังที่เคยกังวลกัน
อย่างไรก็ตาม ภาคอสังหาริมทรัพย์ยังคงเผชิญภาวะความท้าทายอยู่เช่นเดิม การลงทุนในภาคอสังหาริมทรัพย์ลดลง 8.8% ในเดือนสิงหาคม เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นอัตราการหดตัวต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปี แม้ว่ารัฐบาลจีนจะเริ่มออกมาตรการต่างๆ เพิ่มเติมขึ้นในการพยุงภาคอสังหาริมทรัพย์ ตัวอย่างเช่น อัตราการดาวน์อสังหาริมทรัพย์หลังที่สองในจีน จากเดิมผู้ที่ซื้ออสังหาริมทรัพย์จะต้องจ่ายเงิน 70% ของราคาอสังหาริมทรัพย์ในบางเมือง ล่าสุดรัฐบาลได้ผ่อนคลายให้จ่ายเงินดาวน์เพียงแค่ 35% เท่านั้น
นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่มองว่าภาคอสังหาริมทรัพย์ของจีนคงไม่ฟื้นหรือกระโดดอีกแล้ว เพราะรัฐบาลจีนมองการจัดการภาคอสังหาริมทรัพย์เป็นเรื่องความเสี่ยงเชิงยุทธศาสตร์ จีนต้องการเลิกพึ่งพาการเติบโตของภาคเศรษฐกิจนี้ที่รัฐบาลมองว่าเป็นการโตในลักษณะฟองสบู่ เพื่อเปลี่ยนสู่โมเดลการเติบโตใหม่ที่เน้นการบริโภคมากขึ้น ซึ่งในช่วงเปลี่ยนผ่านย่อมจะต้องเจ็บตัวไปอีกสักระยะเลยทีเดียว
ทั้งนี้สาเหตุเพราะภาคอสังหาริมทรัพย์มีความเชื่อมโยงกับห่วงโซ่อุตสาหกรรมหลายห่วงโซ่ นอกจากนั้น ความมั่งคั่งของชาวจีนส่วนใหญ่สะสมอยู่ในภาคอสังหาริมทรัพย์ เมื่อภาคนี้เกิดปัญหา ย่อมกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคโดยตรง ส่งผลให้ผู้บริโภคชาวจีนรัดเข็มขัดและระมัดระวังการใช้จ่ายเงิน จึงสั่นสะเทือนเศรษฐกิจทั้งวงจร
หากให้สรุปสถานการณ์เศรษฐกิจจีนตอนนี้ ผมคิดว่าระยะสั้นมีสัญญาณว่าจุดต่ำสุดได้ผ่านไปแล้วและเริ่มกลับมาทรงตัว แต่ระยะยาวจีนยังคงเผชิญปัญหาเชิงโครงสร้าง ทั้งการเปลี่ยนผ่านการเติบโตจากการพึ่งพาภาคอสังหาริมทรัพย์ไปสู่โมเดลการเติบโตที่เน้นการบริโภค รวมทั้งปัญหาสงครามการค้าและเศรษฐกิจโลกที่ซบเซา ล้วนส่งผลให้กลจักรในการเติบโตในอดีตของจีนทั้งการลงทุนและการส่งออกต่างก็สะดุดลง
ผมยังมั่นใจว่าโอกาสที่จะเกิด Hard Landing ในจีนมีน้อยมาก เพราะรัฐบาลจีนยังคงควบคุมหลายภาคส่วนทางเศรษฐกิจ ทำให้สามารถรับมือกับความเสี่ยงและภาวะการเปราะบางของภาคการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ให้ขาลงทางเศรษฐกิจลามจนกลายเป็นวิกฤตการเงิน เพราะฉะนั้น หากใครกังวลว่าจะมีวิกฤตเป็ดปักกิ่งชนิดซ้ำรอยวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์และวิกฤตต้มยำกุ้ง ก็คิดว่าไม่ต้องกังวลมากนัก เพราะความเป็นไปได้ต่ำมาก
แน่นอนครับว่า เศรษฐกิจจีนที่ยังไม่ฟื้นตัวดี ย่อมส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยด้วย การส่งออกของไทยในเดือนกรกฎาคม หดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 10 แล้ว ปัจจัยฉุดรั้งสำคัญปัจจัยหนึ่งก็คือตลาดจีนที่เป็นตลาดส่งออกใหญ่ของไทยยังคงไม่ฟื้นตัวดี
ส่วนตัวเลขนักท่องเที่ยวจีนนั้น น่าลุ้นครับว่าหลังตัวเลขการบริโภคของจีนเริ่มปรับดีขึ้น ประกอบกับมาตราการฟรีวีซ่าของรัฐบาลไทย จะส่งผลบวกมากน้อยเพียงใดต่อการปรับเพิ่มตัวเลขนักท่องเที่ยวจีนที่จะเข้าไทยเดือนตุลาคม ซึ่งเป็นเดือนหยุดยาววันชาติจีนและเป็นฤดูการท่องเที่ยวสำคัญของชาวจีน